Discounted Cash Flow
วิ ธีคิดลดกระแสเงินสด
จากคลิปวิดีโอก่อนหน้านี้ กระแสเงินสดอิสระสำหรับผู้ถือหุ้น หรือ FCFE (Free Cash Flow to Equity) คำนวณได้ตามสมการ
หรือก็คือ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (OpCF) ลบด้วยค่าใช้จ่ายทุน (CAPEX) และบวกเงินกู้ยืมสุทธิ (Net Borrowing) ซึ่งตัวเลขทั้งหมดหาได้จากงบการเงิน
เมื่อคำนวณ FCFE เป็นแล้ว เราก็สามารถประเมินมูลค่าหุ้นตามวิธี DCF ได้ด้วยสูตรทำนองเดียวกับวิธี DDM โดยแทนที่ เงินปันผล ด้วย FCFE เช่น
หลักการเดียวกันนี้ยังใช้ได้กับสูตร DDM แบบคิดลดสองขั้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างคำนวณ
ใช้ตัวอย่างเดียวกับวิธี DDM แบบคิดลดสองขั้น
ผู้ถือหุ้นของ บมจ.ซีเมนต์พัฒนา คาดหวังผลตอบแทน 9 เปอร์เซ็นต์ต่อปี พวกเขาดูข้อมูลย้อนหลังและพบว่า กระแสเงินสดอิสระในภาวะปกติย้อนหลัง 5 ปี อยู่ที่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งถ้าหารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมด 1200 ล้านหุ้น ก็จะคิดเป็นกระแสเงินสดอิสระ 16.7 บาทต่อหุ้น
หากประมาณการว่าปีถัดไปบริษัทจะยังคงมีกระแสเงินสดอิสระหุ้นละ 16.7 บาท และกระแสเงินสดนี้เพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกับกำไรสุทธิ คือ 6 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ในช่วง 10 ปีแรก ก่อนเข้าสู่ช่วงอิ่มตัวและลดการเติบโตลงเหลือ 3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี หลังจากนั้น
ดังนั้น
r = 9%
FCFE = 16.7
n = 10
s = 6%
g = 3%
มูลค่าหุ้นจากวิธี DCF แบบคิดลดสองขั้น จึงเท่ากับ
A (1 - BC) = 556.7 x [ 1 - (0.500 x 0.778) ] = 340 บาท
ดังที่กล่าวไปแล้วว่า กระแสเงินสดอิสระมักมีความผันผวนโดยธรรมชาติ และยากที่จะประเมินอัตราการเติบโตที่แน่ชัด ทางเลือกที่ดีกว่าจึงเป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างกำไรและกระแสเงินสดอิสระ และใช้สมมติฐานว่าตัวเลขทั้งสองตัวควรเติบโตไปด้วยกัน ในอัตราที่ใกล้เคียงกัน อันเป็นสิ่งที่เราทำในตัวอย่างข้างต้นนั่นเอง