สูตรกอร์ดอนประยุกต์
เมื่อเรานำสูตรกอร์ดอนมาจัดรูป จะทำให้ได้สูตรใหม่ที่ยังมีความถูกต้องเช่นเดิม แต่มีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น หรือทำให้ประเมินมูลค่าได้ง่ายขึ้น
สูตรกอร์ดอน BV


หมายถึง สูตรกอร์ดอนที่ขยายความด้วย BV (extended by Book Value)
จากสูตรกอร์ดอนดั้งเดิม

เนื่องจากเงินปันผล D เท่ากับ กำไรสุทธิต่อหุ้น (E) คูณด้วย สัดส่วนการจ่ายเงินปันผล (d: dividend payout ratio) ดังนั้น

เมื่อคูณฝั่งขวาด้วย BV/BV (ซึ่งมีค่าเท่ากับการคูณด้วยหนึ่ง) จะได ้
สังเกตว่า กำไรสุทธิ (E) หารด้วย มูลค่าทางบัญชี (BV) ที่จริงแล้วก็คือ ค่า ROE หรืออัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นนั่นเอง
เพราะฉะนั้น เราจะเขียนได้ว่า

สังเกตว่าสูตรนี้มีความแตกต่างตรงที่ว่า เราประมาณตัวแปรสองตัว คือ d และ ROE แทนที่จะประมาณเงินปันผล (D) ไปตรง ๆ เหมือนอย่างในสูตรกอร์ดอนดั้งเดิม
โดยทั่วไปนักลงทุนมักเชื่อว่า การประมาณตัวแปรหลายตัวน่าจะทำให้มีโอกาสผิดพลาดมากขึ้น แต่ที่จริงแล้ว การประมาณว่า "เงินปันผลปกติ" ของปีถัดไปควรมีค่ากี่บาทนั้น ยากกว่าการประมาณตัว d และตัว ROE ซึ่งมีข้อมูลย้อนหลังช่วยสนับสนุน
-- ตัวอย่างคำนวณ --
นักลงทุนคาดว่าหุ้น MFT จะจ่ายเงินปันผลในปีถัดไปหุ้นละ 4 บาท บวก/ลบ 0.5 บาท นั่นคือ ในกรณีแย่ ๆ บริษัทอาจจ่ายเพียง 3.5 บาท และในกรณีดีเยี่ยม บริษัทอาจจ่ายมากถึง 4.5 บาทก็ได้
หากผู้ถือหุ้นต้องการผลตอบแทน re = 9% และคาดการณ์ว่าเงินปันผลมีการเติบโต 3% เราจะคำนวณมูลค่าหุ้นตาม สูตรกอร์ดอนดั้งเดิม ได้เป็นสามกรณี และได้ผลลัพธ์ว่า มูลค่าหุ้นน่าจะอยู่ในช่วงราว ๆ 58-75 บาท ดังที่ปรากฏในตาราง

ในอีกทางหนึ่ง สมมตินักลงทุนสังเกตว่าบริษัทมีสัดส่วนการจ่ายเงินปันผล (d) ในอดีตอยู่ระหว่าง 0.58-0.66 และคาดการณ์ว่ากรณีปกติควรอยู่ที่ d = 0.62
ส่วน ROE ในอดีตก็อยู่ที่ระดับ 7.5-8.5 เปอร์เซ็นต์ จึงคาดว่าน่าจะสามารถรักษา ROE ที่ประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ต่อไปได้
ถ้าบริษัทมี BV หรือมูลค่าทางบัญชี 80 บาท จะสามารถคำนวณมูลค่าหุ้นตามสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วย สูตรกอร์ดอน BV ซึ่งเป็นสูตรประยุกต์ ดังตาราง

ด้วยเหตุที่บริษัทต่าง ๆ มักพยายามจ่ายเงินปันผลอย่างมีเสถียรภาพ คือ เมื่อกำไรลดลง บริษัทก็จะพยายามเพิ่มสัดส่วนการจ่ายปันผลให้มากขึ้น (เพื่อรักษาระดับเงินปันผลต่อหุ้นไม่ให้ตกต่ำมาก) ROE กับ d จึงมักจะไม่สูงหรือต่ำไปด้วยกัน ทำให้กรณี แย่-แย่ หรือ ดีเยี่ยม-ดีเยี่ยม ในตาราง ไม่ค่อยเกิดขึ้น
ดังนั้น จากทั้งหมด 9 สถานการณ์ในตาราง เราจะสามารถตัดกรณีสุดโต่ง คือ ซ้ายบน กับ ขวาล่าง ออกไปได้ และเหลือเพียง 7 สถานการณ์ที่น่าจะเกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่ได้จาก สูตรกอร์ดอน BV คือ มูลค่าหุ้นน่าจะอยู่ในช่วงราว ๆ 62-70 บาท ซึ่งถือว่ามีความชัดเจนขึ้นมาก เมื่อเทียบกับ สูตรกอร์ดอนดั้งเดิม ที่ให้มูลค่าหุ้นในช่วงกว้าง คือ 58-75 บาท